รางวัลท้องถิ่นดิจิทัลประเภทยอดเยี่ยม ประจำปี 2565
โดย เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
ภาพรวมผลงาน
เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ได้ทำโครงการบริหารจัดการพื้นที่ประสบอุทกภัยด้วยระบบดิจิทัลแพลตฟอร์มวอร์รูมขึ้น
- ประชาชนจึงสามารถเข้าถึงบริการดิจิทัลต่างๆของเทศบาลได้อย่างสะดวก รวดเร็วและง่ายต่อการเรียนรู้ใช้งานระบบ เนื่องจากประชาชนคุ้นเคยกับการใช้แอปพลิเคชันไลน์อยู่แล้วและไม่จำเป็นต้องติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ เพิ่มเติมในโทรศัพท์อีก
- ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น กรณีการเกิดอุทกภัย ระบบสามารถคาดการณ์สถานการณ์ต่างๆล่วงหน้าได้ เช่น ปริมาณน้ำเดินทางใช้ระยะเวลากี่วันจากต้นทางถึงพื้นที่ เทศบาลจึงสามารถแจ้งเตือนภัยและข้อมูลต่างๆถึงประชาชนได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที
- ประชาชนสามารถ ตรวจสอบ ติดตาม และเฝ้าระวังภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อเกิดภัยแล้ว เทศบาลสามารถใช้ระบบในการบริหารจัดการสถานณ์ได้ เช่น การลงทะเบียนสำรวจผู้ประสบภัย การจัดสรรความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยอย่างทั่วถึง การค้นหาผู้ประสบภัยที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ เป็นไปอย่างรวดเร็ว
- มีฐานข้อมูลผู้ประสบภัยที่ทุกหน่วยงานในเทศบาลสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตามอำนาจหน้าที่ของตนเอง เช่น งานป้องกันเข้าใช้ระบบเพื่อสำรวจข้อมูลผู้ประสบภัย กองช่าง เข้าใช้ระบบเพื่อประเมินความเสียหาย กองคลังเข้าใช้งานระบบเพื่อให้ความช่วยเหลือ เยียวยา จ่ายถุงยังชีพ พร้อมส่งข่าวแจ้งให้มารับการช่วยเหลือไปยังไลน์ของประชาชนรายบุคคลได้ทันที สำนักปลัดเข้าใช้งานระบบ ส่งออกข้อมูลผู้ประสบภัยเพื่อรายงานอำเภอ จังหวัดได้ทันที เป็นต้น
จัดทำแพลตฟอร์มการบริหารจัดการพื้นที่ประสบอุทกภัยด้วยระบบดิจิทัลแพลตฟอร์มวอร์รูม จัดทำขึ้นเพื่อ
- เพื่อคาดการณ์ปริมาณที่ไหลลงสู่แม่น้ำมูลจนถึงเขตเทศบาลพิบูลมังสาหารใช้ระยะเวลากี่วัน
- เพื่อเป็นเตรียมความพร้อมแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ในการเก็บสัมภาระและอพยพประชาชนได้ทันท่วงที
- เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยโดยตรง ได้ทันเวลา เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ถุงยังชีพ การฟื้นฟูเยียวยา ฯลฯ อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว
- ลดเวลา ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย ทำให้ประชาชนได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วด้วย