อุบลราชธานี

รางวัลท้องถิ่นดิจิทัลประเภทดีเด่น ประจำปี 2566
โดย

เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร  อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

ภาพรวมผลงาน

ระบบ“เมืองพิบูล ยิ้มกว้างอย่างเป็นสุข”  (Phibun Big Smile Healthy Care System) เป็นระบบสารสนเทศสนับสนุนงานส่งเสริมสุขภาพ งานป้องกันและควบคุมโรค  งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร เพื่อยกระดับการให้บริการประชาชนด้านสาธาณสุขที่ดียิ่งขึ้น โดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยระบบฯ สามารถบันทึกจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพประชาชนกลุ่มเป้าหมาย โดยเจ้าหน้าที่หรือผู้รับผิดชอบงานด้านการส่งเสริมสุขภาพของเทศบาลเป็นผู้บันทึกข้อมูลในขณะที่ออกเยี่ยมบ้านประชาชนกลุ่มเป้าหมาย  และประชาชนผู้เป็นเจ้าของข้อมูลยังสามารถทำการบันทึกรายงานข้อมูลมายังเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ด้วยตนเอง จากนั้นระบบฯจะวิเคราะห์ข้อมูลภาพรวมด้านสุขภาพของประชาชนของชุมชนต่างๆในพื้นที่เทศบาลเพื่อให้ทราบว่าประชาชนที่มีสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ดีและประชาชนที่ต้องได้รับการดูแลมีจำนวนและสัดส่วนเท่าไร มีพิกัดที่อยู่อาศัยอยู่บริเวณใดของเมืองและต้องดูแลในเรื่องใดบ้าง   รวมทั้งระบบฯยังสามารถวิเคราะห์ค้นหาปัญหาที่สำคัญด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชนนั้นๆ เพื่อเสนอให้ผู้บริหารเร่งแก้ไขเป็นลำดับแรกๆ  อีกทั้งระบบยังสามารถวิเคราะห์ดัชนีความสุขและสุขภาวะของประชาชนกลุ่มเป้าหมายในเขตเทศบาลเปรียบเทียบในแต่ละช่วงเวลาได้  มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่ร่วมบูรณาการทำงานด้านสาธารณสุขชุมชน ได้แก่ สำนักงานสาธารสุขอำเภอพิบูลมังสาหาร โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาล เป็นต้น

นอกจากนี้ระบบยังสามารถวิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนรายบุคคลว่ามีสุขภาพแข็งแรงดีในระดับใด มีประเด็นด้านสุขภาพที่ต้องดูแลเป็นพิเศษหรือไม่ และระบบฯยังมีการแนะนำ วิธีการดูแลสุขภาพของแต่ละบุคคล เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร พฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับบุคคลและช่วงวัย

เมืองพิบูล Big Smile จึงเป็นระบบที่สามารถสนับสนุนส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชนให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ส่งผลให้ประชาชนเมืองพิบูลมังสาหาร ยิ้มกว้างอย่างเป็นสุขได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน

  • เพื่อจัดทำระบบสารสนเทศการส่งเสริมสุขภาพประชาชนในด้านสาธารณสุข
  • เพื่อดูแลติดตามการส่งเสริมสุขภาพประชาชนในกลุ่มเปราะบาง ในเขตพื้นที่อย่างเป็นระบบ
  • เพื่อนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ ให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพของคนในชุมชน
  • เพื่อดูแลบำบัดทุกข์บำรุงสุข ให้กับประชาชนในพื้นที่ อยู่อย่างปลอดภัยด้วยระบบเมืองพิบูล ยิ้มกว้างอย่างเป็นสุข (Phibun Big Smile Healthy Care System)
  • เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารมีสภาพสังคมเป็นชุมชนเมืองประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพค้าขาย จากฐานข้อมูลประชากรของเทศบาลพบว่ามีประชาชนที่จัดว่าเป็นกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เด็ก สตรีตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด ผู้ป่วยติดเตียงหรือมีภาวะพึ่งพิงผู้ที่มีโรคประจำตัว อยู่ประมาณร้อยละ 20 ซึ่งประชาชนกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลและส่งเสริมด้านสุขภาพที่เหมาะสมประกอบกับปัจจุบันเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารเริ่มเข้าสู่เมืองที่มีผู้สูงวัยมีจำนวนมากขึ้น การจัดการข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนที่เทศบาลต้องให้การช่วยเหลือดูแลเริ่มทำให้ยากเนื่องจากมีจำนวนข้อมูลที่มากขึ้น และยากต่อการสืบค้นเพื่อนำข้อมูลที่จัดเก็บมาใช้งาน ด้วยเหตุนี้เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารจึงจำเป็นต้องมีแผนงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและดูแลประชาชนที่เป็นผู้สูงวัยและกลุ่มเปราะบางที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนกลุ่มดังกล่าว มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ดังที่ว่า “สุขภาพกาย สุขภาพจิดดี ชีวีเป็นสุข”
  • การพัฒนาระบบแพลตฟอร์มการทำงานของเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ในรูปแบบเว็บแอ็พพลิเคชั่น (Web Application) ที่รองรับการแสดงผลในเว็บเบราว์เซอร์บนสมาร์ทโฟนทุกระบบปฏิบัติการ แล้วเชื่อมต่อกับระบบโซเซียลมีเดียโดยผ่านบัญชีทางการไลน์ของเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร
  • ประชาชนเข้าใช้งานระบบได้โดยการเป็นเพื่อนกับ Line OA ของเทศบาล ทำให้เทศบาลสามารถเชื่อมโยงข้อมูลดิจิทัลกับประชาชนได้โดยตรงเป็นรายบุคคล ตรงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ โดยประชาชนไมต้องติดตั้งแอฟพลิเคชันใดๆ เพื่อเพิ่มบนสมาร์ทโฟนอีก เทศบาลจึงสามารถใช้ระบบดังกล่าว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการข้อมูลและการบริการงานส่งเสริมสุขภาพประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร
  • ระบบ สามารถบันทึกข้อมูลด้านสุขภาพประชาชนกลุ่มเป้าหมายโดยเจ้าเจ้าหน้าที่หรือผู้รับผิดชอบงานด้านการส่งเสริมสุขภาพของเทศบาลเป็นผู้บันทึกข้อมูล หรือบันทึกข้อมูลด้วยประชาชนผู้เป็นเจ้าของข้อมูลเอง แล้วประมวลผลข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนกลุ่มเป้าหมายรายบุคคล เพื่อประเมินระดับการมีสุขภาพดีของประชาชน คัดกรอง จัดกลุ่มประชาชนที่ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดพิเศษ ค้นหาปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอนาคต ได้อย่างตรงเป้าหมาย
  • สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสุขภาพที่จำเป็นกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ที่มีอำนาจหน้าที่ในการร่วมบูรณาการขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ เช่น สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพิบูลมังสาหาร โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร อสม. นักบริบาลท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่นและท้องที่ เป็นต้น โดยมีการเข้ารหัสข้อมูลและยึดหลักข้อกฏหมาย ระเบียบในการดูแลการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
  • สามารถแจ้งเตือนให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของข้อมูลหรือคนในครอบครัวทราบเมื่อระบบพบว่ามีข้อควรระวังในการดูแลสุขภาพของประชาชนรายนั้นๆ ได้ทันที เช่น กรณี ผู้สูงอายุหรือคนไข้ติดเตียงที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ต้องมีการเผ้าระวังในเรื่องสุขภาพประเด็นต่างๆ เป็นต้น

ช่วงก่อนดำเนินโครงการ (Before)

  • จำนวนประชาชนกลุ่มเปราะบางในเขตเทศบาล ที่เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขฯ สามารถออกเยี่ยมบ้าน ได้ตามแผนการเยี่ยมบ้าน  36 ราย/เดือน (ออกเยี่ยมสัปดาห์ละ 3 วัน)
  • ระยะเวลาในการบันทึกข้อมูล สรุปผลข้อมูล แปลผลข้อมูลด้านสุขภาพประชาชนที่ให้การดูแลออกเยียม(ไม่รวมระยะเวลาการตรวจสุขภาพทั่วไปและการสนทนาอื่นๆ)    ใช้เวลา    20-30 นาที /ราย
  • ระยะเวลาที่ใช้ในการทำเอกสารสรุปผลการออกเยี่ยมบ้านรายเดือนเพื่อนำเสนอผู้บริหาร  ใช้เวลา 2-3 วันทำการ
  • ระยะเวลาที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลเชิงสถิติรายเดือน เช่น จำนวนประชาชนกลุ่มเปราะบางที่ได้รับการดูแลแล้วมีสุขภาพดีขึ้นหรือแย่ลง   ข้อมูลประชาชนกลุ่มเปราะบางรายใหม่ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ปัญหาด้านสุขภาพที่พบมากที่สุด ฯลฯ  เพื่อนำข้อมูลไปใช้งานต่อ   ใช้เวลา 5-10 วันทำการ

ผลลัพธ์หลังจากดำเนินโครงการ

  • จำนวนประชาชนกลุ่มเปราะบางในเขตเทศบาล ที่เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขฯ สามารถออกเยี่ยมบ้าน ได้ตามแผนการเยี่ยมบ้าน  60 ราย/เดือน (ออกเยี่ยมสัปดาห์ละ 3 วัน)
  • ระยะเวลาในการบันทึกข้อมูล สรุปผลข้อมูล แปลผลข้อมูลด้านสุขภาพประชาชนที่ให้การดูแลออกเยียม(ไม่รวมระยะเวลาการตรวจสุขภาพทั่วไปและการสนทนาอื่นๆ)    ใช้เวลา    5-10 นาที /ราย
  • ระยะเวลาที่ใช้ในการทำเอกสารสรุปผลการออกเยี่ยมบ้านรายเดือนเพื่อนำเสนอผู้บริหาร  ใช้เวลา 10 นาที
  • ระยะเวลาที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลเชิงสถิติรายเดือน เช่น จำนวนประชาชนกลุ่มเปราะบางที่ได้รับการดูแลแล้วมีสุขภาพดีขึ้นหรือแย่ลง   ข้อมูลประชาชนกลุ่มเปราะบางรายใหม่ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ปัญหาด้านสุขภาพที่พบมากที่สุด ฯลฯ  เพื่อนำข้อมูลไปใช้งานต่อ   ใช้เวลา 10 นาที
  1. ประชาชน
    – เข้าตรวจสอบข้อมูลและดูคำแนะนำด้านการดูแลสุขภาพของตนเอง
    – บันทึกข้อมูลสุขภาพของตนเอง
  2. เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุข
    – บันทึกลงทะเบียน ข้อมูลประชาชนกลุ่มเปราะบางหรือผู้ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
    – จัดทำแผนการออกเยี่ยมบ้าน (care plan)
    – บันทึกข้อมูล การประเมินสุขภาพของประชาชนและผลการออกเยี่ยมบ้านตามแผน
    – ดูรายงานภาพรวมดัชนีสุขภาพของประชาชนกลุ่มเปราะบางรายบุคคลหรือเป็นภาพรวมของชุมชนและรายงานข้อมูลต่างๆที่ระบบวิเคราะห์และสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ
    – ตอบปัญหาให้คำแนะด้านสุขภาพ
  3. ภาคีเครือข่าย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ อสม.
    – เข้าถึงฐานข้อมูลประชาชนกลุ่มเปราะบางหรือผู้ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษตามอำนาจหน้าที่ของตนและเป็นไปตามข้อระเบียบกฎหมาย การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
    – บันทึกปรับปรุงข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละบุคคล เช่น การบันทึกข้อมูลการประเมินด้านสุขภาพประชาชนที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของ อสม.
  4. ครูประจำชั้น ครูอนามัยโรงเรียนในสังกัดเทศบาล
    – จัดทำฐานข้อมูลบันทึกพัฒนาการ การเจริญเติบโต และข้อมูลด้านสุขภาพของเด็กนักเรียน แต่ละระดับชั้น โดยฐานข้อมูลนี้จะถูกใช้จนกระทั่งเด็กจบจากสถานศึกษา สังกัดเทศบาล และย้ายออกจากเขตเทศบาล
    – บันทึกข้อมูล/ตรวจสอบการประเมินสุขภาพของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ
  5. ผู้บริหาร ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฯ ปลัดเทศบาล
    – ติดตามกำกับดูแลการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค การสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม ของเจ้าหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลได้อย่างสะดวกมีประสิทธิภาพทุกที่ทุกเวลา
    – นำข้อมูลเชิงลึกด้านการสาธารณสุขและปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่ถูกวิเคราะห์และค้นพบในพื้นที่ จากระบบ

ในช่วง 3- 6 เดือน

1.พัฒนาระบบให้แสดงผลในสมาร์ทโฟนได้ดียิ่งขึ้น ความสะดวกใช้งานมากยิ่งขึ้น

2. พัฒนาชุดข้อมูลแผนที่ให้สามารถแยกแสดงชั้นข้อมูลได้อย่างอิสระ แสดงข้อมูลได้ทุกมิติ

3. พัฒนาโมดูลการแนะนำข้อมูลพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชาชนรายลุคคล ให้มีความแม่นยำ แสดงข้อมูลที่เข้าใจง่ายตรงประเด็น

ในช่วง 6 เดือน – 1 ปี

1) เป็นระบบบริหารจัดการข้อมูลสุขภาพประชาชนต้นแบบให้กับภาคราชการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวมของประเทศ

2) เป็นระบบมที่ให้บุคคลที่มีความเชี่ยวชาญนำไปต่อยอดเพื่อใช้ในระดับประเทศในอนาคตต่อไป

3) ข้อมูลที่ได้จากระบบวางแผนด้านการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนเพื่อของบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐบาล

4) นำ AI เข้ามาใช้ในระบบอย่างเต็มรูปแบบ