ปทุมธานี

รางวัลท้องถิ่นดิจิทัลประเภทดีเด่น ประจำปี 2566
โดย เทศบาลนครรังสิต อําเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

ภาพรวมผลงาน

โดยเทศบาลนครรังสิตได้สร้างระบบบูรณาการการบริหารจัดการคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ทั้งการกําจัดของเสีย (ผักตบชวา) ในคลองเพื่อเปลี่ยนเป็นปุ๋ยชีวภาพและการติดตั้งอุปกรณ์ IoT เพื่อบริหารจัดการและเพื่อเพิ่ม ศักยภาพภาพของคลองในทุกมิติจึงได้แบ่งวิธีจัดการกับต้นตอของปัญหาออกเป˞น 2 กระบวนการ

กระบวนการเชิงรุก

ด้วยเทคโนโลยี Food Waste & Weed Micro Organism Transmuter Bio Axel

เปลี่ยนผัดตบชวาเป็นปุ๋ยชีวภาพภายใน 24 ชั๋วโมง

กระบวนการเชิงรับ

กับระบบบริหารจัดการน้ำด้วย IoT
1.) ระบบ water level sensor
2.) ระบบวัดการไหลของน้ำ
3.) ระบบระบบบริหารจัดการสถานีระบายน้ำ
4.) ระบบตรวจสอบคุณภาพน้ำ

  • เกิดขยะ (ผักตบชวา) ในคลองรังสิตประยูรศักดิ์เป็นจํานวนมาก และยังไม่มีระบบบริหารจัดการคลองที่ดี จึงมักก่อให้เกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับน้ำตามมา
  • เพื่อจัดให้มีระบบบริหารอย่างอัจฉริยะจัดการน้ำ ในทุก ๆ มิติ สามารถควบคุมผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • เพื่อแก้ปัญหาที่เป็นต้นเหตุให้เกิดมลพิษทางน้ำอย่างผักตบชวาและยังคงช่วยบํารุงรักษาให้เกิดความยั่งยืน
  • ลักษณะของ Solution
    การสร้างระบบบูรณาการการบริหารจัดการคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ทั้งการกําจัดของเสีย (ผักตบชวา) ในคลองเพื่อเปลี่ยนเป็นปุ๋ยชีวภาพและการติดตั้งอุปกรณ์ IoT เพื่อบริหารจัดการ และเพื่อเพิ่มศักยภาพภาพของคลองในทุกมิติ
  • เทคโนโลยีดิจิทัล/นวัตกรรมที่ใช้
    Food Waste and Weed Micro-organism Transmuter Bio Axel ในการเปลี่ยน ผักตบชวาเป็นปุ๋ยชีวภาพ และระบบบริหารจัดการนำอัจฉริยะด้วยอุปกรณ์ IoT ในการเพิ่ม ศักยภาพของคลองรังสิตประยูรศักดิ์
  • ความท้าทายของการดําเนินโครงการ
    รังสิตเป็นชุมชนเมืองที่มีความหลากหลาย จึงก่อให้เกิดความยากในการติดต่อประสานงานในแต่ละภาคส่วน ในระยะแรกจึงพบกับปัญหาการให้ความร่วมมือจากประชาชน เนื่องจากมีกลุ่มประชากรแฝงจํานวนมาก จึงใช้เวลาพอสมควรในการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น
  • ช่องทางการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงระบบบริการ
    ประชาสัมพันธ์ผ่าน Facebook Page เทศบาลนครรังสิต ทีˑมีผู้ติดตาม 79K และ Line OA @rangsitcity ที่มีผู้ติดตามจํานวน 14K
  • มีการให้ข้อมูลแนะนําการใช้บริการที่เข้าใจง่าย
    มีการแนะนําระบบบริหารจัดการคลองรังสิตประยูรศักดิ˛ ผ่านการประชุม ผู้นําชุมชนและผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทีˑประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

  • ในช่วง 3 – 6 เดือน
    การใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่สามารถเข้าไปช่วยเก็บผักตบชวาในคลองรังสิตประยูรศักดิ์ โดยไม่ต้องใช้แรงงานคน ซึ่งมีกองสาธารณสุขและสํานักปลัดเทศบาลฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธาณะภัย เทศบาลนครรังสิตเป็นผู้รับผิดชอบ
  • ในช่วง 6 เดือน ถึง 1 ปี
    พัฒนาต่อยอดโดยเพิ่มระบบบริหารจัดการนำด้วยอุปกรณ์ IoT ในมิติอื่น ๆ เพิ่มเติม และการเพิ่มเครื่องมือที่ช่วยทําให้คุณภาพน้ำอยู่ในระดับมาตรฐาน โดยมีกองสาธารณสุขและสํานักช่าง เทศบาลนครรังสิตเป็นผู้รับผิดชอบ