ยะลา

รางวัลท้องถิ่นดิจิทัลประเภทยอดเยี่ยม ประจำปี 2566
โดย เทศบาลนครยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

ภาพรวมผลงาน

เทศบาลนครยะลาเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีโครงสร้างขององค์กรในรูปแบบกระจายอำนาจหน้าที่ตามภารกิจของสำนักและกอง จึงทำให้ข้อมูลต่างๆ ยังถูกจัดเก็บในรูปแบบแยกส่วน (Silo) ขาดการเชื่อมโยงระหว่างกัน ส่งผลให้ผู้บริหารไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเมืองสำหรับการคาดการณ์ วางแผน ติดตามผล และแก้ไขปัญหา ต่างๆ ของเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

เทศบาลนครยะลา ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่าง บริษัท เบดร็อค อนาไลติกส์ จำกัด ในการพัฒนาและเผยแพร่แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง (City Digital Data Platform) โดยเริ่มต้นจากการสำรวจข้อมูลเมือง ใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) ในการเก็บข้อมูลทางอากาศ และการใช้รถ Mobile Mapping System (MMS) ในการเก็บข้อมูลภาคพื้นดิน รวมถึงผนวกข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับจากสำนักกองของเทศบาลนครยะลา เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI มาช่วยในการทำงานของเจ้าหน้าที่ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ช่วยให้การบริการประชาชนได้รวดเร็วขึ้น รวมถึงช่วยในการวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแพลตฟอร์มประกอบไปด้วย

  1. แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง (CDDP) รวบรวม จัดเก็บ และแสดงผลข้อมูลโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อวางแผน การพัฒนาให้สอดรับกับการเจริญเติบโตของชุมชม สังคม และประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป
  2. ระบบบริหารจัดการภัยพิบัติ ช่วยวางแผนรับมือภัยพิบัติได้ทันท่วงที ให้ความช่วยเหลือตามลำดับความสำคัญ และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ
  3. ระบบรับแจ้งเหตุและจัดการปัญหาออนไลน์ ยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ช่วยสอดส่องดูแลเมืองเพื่อให้เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน
  4. ระบบขออนุญาตและควบคุมอาคารอัจฉริยะ ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างแบบครบวงจร ติดตามและรอผลอนุมัติผ่านระบบออนไลน์
  5. ระบบภาษีอัจฉริยะ ยกระดับการบริการประชาชนในการจัดเก็บภาษีให้รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ

  • ยังจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ แยกส่วน (Silo) ขาดการ เชื่อมโยง ระหว่างกัน
  • ทำให้ผู้บริหารไม่สามารถ นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาเมืองสำหรับการคาดการณ์ วางแผน ติดตามผล และแก้ไขปัญหา ต่างๆ ของเมือง ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  • เพื่อนำไปสู่การ ยกระดับคุณภาพชีวิต ของประชาชนที่ดียิ่งขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำ และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

“บริหารข้อมูลให้เข้าถึงได้แค่ปลายนิ้ว”

  • DRONE : เก็บข้อมูลทางอากาศ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ระดับความสูงต่ำของพื้นที่ สภาพพื้นผิวถนน ทางเท้า
  • MMS : เก็บข้อมูลภาคพื้นดิน โครงสร้างพื้นฐาน ป้ายโฆษณา ที่ดิน
  • ป้อนข้อมูลเข้าระบบ